สาธารณสุขยุคดิจิทัล

posted in: Coming soon | 0

เกี่ยวกับรายวิชา
ชื่อรายวิชา (ภาษาไทย) หลักการสาธารณสุขยุคดิจิทัล
ชื่อรายวิชา (ภาษาอังกฤษ) Principles of Public Health in the Digital Age
คณะ/ส่วนงานผู้พัฒนา คณะสาธารณสุขศาสตร์
ระดับของเนื้อหารายวิชา เบื้องต้น
จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 6 ชม. (เรียนออนไลน์ทั้งหมด)
ระยะเวลาเรียน ใช้เวลาในการเรียนไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันลงทะเบียนเรียน
รูปแบบการเรียนในรายวิชา: เรียนด้วยตนเอง (Self-paced)
ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทย
ค่าใช้จ่าย ไม่มี
กลุ่มเป้าหมายของรายวิชา บุคคลทั่วไป
คุณสมบัติผู้เรียน/ความรู้พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน: ไม่มี


วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของสุขภาพ และการสาธารณสุข ได้
2. อธิบาย ขอบเขตงานสาธารณสุข ได้
3. อธิบายวิวัฒนาการดำเนินงานสาธารณสุขไทย ได้
4. สามารถเชื่อมโยงความเป็นมาของการสาธารณสุขไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
5. มีความรู้และทักษะทาง Digital Health
6. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยี Digital Health ได้ตามความเหมาะสมกับสถานะทางสุขภาพ
7. อธิบายจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ได้
8. มีเจตคติที่ดี ต่อการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน

เกณฑ์การให้คะแนนและการรับใบประกาศนียบัตร
ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อศึกษาครบทุกหัวข้อ ทำแบบทดสอบและได้ทำการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

สิทธิประโยชน์ของผู้เรียน
1. จะได้รับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์
2. เมื่อเรียนครบ 8 หน่วยการเรียนรู้ สามารถเทียบโอนรายวิชาหลักการสาธารณสุขยุคดิจิทัลในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตได้

สนใจเรียน                     ลงทะเบียนเรียน                   

เอกสารประกอบการเรียนรู้
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. วิวัฒนาการ การสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย
(พ.ศ. ๒๕๒๑ – พ.ศ. ๒๕๕๗). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; นนทบุรี, 2557.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา การสาธารณสุขทั่วไป หน่วยที่ 1-7 . สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; นนทบุรี, 2553.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา การสาธารณสุขทั่วไป หน่วยที่ 8-15 . สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; นนทบุรี, 2553.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา การสาธารณสุข 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; นนทบุรี, 2553.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. การสาธารณสุขไทย 2544 – 2547. กระทรวงสาธารณสุข; นนทบุรี, 2547.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. การสาธารณสุขไทย 2548 – 2550. กระทรวงสาธารณสุข; นนทบุรี, 2551.
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ. 100 ปี การสาธารณสุขไทย. กลุ่มวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักวิชาการสาธารณสุข
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; นนทบุรี, 2561.
World Health Organization. Regional Office in South East Asia; Regional Conference on Revitalizing Primary
Health Care, August 6-8, 2008, Jakarta, Indonesia.
World Health Organization. Regional Office in South East Asia; Meeting of the South East Asia Primary
Health Care Innovations Network (SEAPIN), August 20, 2011, Chiang Mai, Thailand.
ฐานข้อมูลและระบบสืบค้นอิเลคทรอนิกส์
– http://www.moph.go.th
– http://bps.ops.moph.go.th

ทีมผู้สอนและทีมผู้พัฒนารายวิชาออนไลน์

1. ผศ.ดร.ปณต  มานวิโรจน์
คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และหัวหน้าสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
E-mail : samana@rpu.ac.th
  2. ผศ.นนทรี  สัจจาธรรม
อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์
E-mail : nosatt@rpu.ac.th
3. อาจารย์ สมฤดี  นามวงษ์
ผู้ช่วยหัวหน้าสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และอาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์
E-mail : sonamw@rpu.ac.th
4. อาจารย์ วลีรัตน์  ภมรพล
อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์
E-mail : wapamo@rpu.ac.th


เว็บไซต์
: http://scph.rpu.ac.th

แนะนำรายวิชา